หน้าหลักกระทู้ สำหรับนิติกร   
ทรัพย์จำนอง
โดย : สตท.4

09/11/2553 13:24:53
IP: 223.207.168.59
  เพื่อนๆ นิติกรทุกท่าน
กรณีลูกหนี้เอาทรัพย์มาจำนองเป็นประกันการกู้ยืมเงินแก่เจ้าหนี้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ววันหนึ่งลูกหนี้ขายทรัพย์จำนองนั้นแก่บุคคลภายนอก จะได้หรือไม่อย่างไร
ร่วมกันแสดมคิดเห็นนะค่ะ เพราะกรณีนี้เกิดขึ้นบ่อยในกาปฎิบัติงาน
 
ความคิดเห็นที่ 1:
โดย : นิติกร สตท.8

10/11/2553 10:36:27
IP: 192.168.64.251
  ***กฎหมายวางหลักเกณฑ์ไว้ว่า
มาตรา702 อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่
***ประเด็นที่หนึ่ง การที่ลูกหนี้เอาทรัพย์สินมาจำนองเป็นประกันการกู้ยืมเงินแก่เจ้าหนี้ถูกต้องตามกฎหมายแล้วนั้นถือว่าเจ้าหนี้ผู้นั้นเป็นเจ้าหนี้ผู้ทรงบุริมสิทธซึ่งมีสิทธเหนือกว่าเจ้าหนี้สามัญ ซึ่งการที่ลูกหนี้นำทรัพย์ที่จำนองไปขายให้บุคคลภายนอกนั้นถือว่าเป็นการโกงเจ้าหนี้คือยักย้ายทรัพย์เพื่อให้เจ้าหนี้เสียเปรียบในการได้รับชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็ยังได้รับการคุ้มครองสิทธตามประมวล พ.พ. ตามมาตรา 702 ว 2 ซึ่งวางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่
***หมายเหตุ หรือผู้รับจำนองชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้ และผู้รับจำนองยังชอบที่จะเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดได้ภายในบังคับแห่งเงื่อนไขดั่งนี้
(1) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี
(2) ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ และ
(3) ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้
***ถ้าตอบไม่ครอบคลุมประการใดขอโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ความคิดเห็นที่ 2:
โดย : สตท.4

10/11/2553 15:27:37
IP: 223.206.121.65
  ข้อกฎหมาย มาตรา 706 บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแต่ภายในบังคับเงื่อนไขเช่นใด จะจำนองทรัพย์สินนั้นได้แต่ภายในบังคับเงื่อนไขเช่นนั้น
มาตรา 712 แม้ถึงว่ามีข้อสัญญาเป็นอย่างไรก็ตาม ทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้แก่บุคคลคนหนึ่งนั้น ท่านว่าจะเอาไปจำนองแก่บุคคลอีกคนหนึ่งในระหว่างเวลาที่สัญญาก่อนยังมีอายุอยู่ก็ได้
วินิจฉัยข้อกฎหมาย จำนอง คือการที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินไปตราไว้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำนอง เป็นทรัพยสิทธิ คือสิทธิที่มีอยู่เหนือตัวทรัพย์ ผู้รับจำนอง คือเจ้าหนี้ ปุริมสิทธิ์ ย่อมมีสิทธิก่อนเจ้าหนี้สามัญทั่วไป หนี้จำนองเป็นหนี้ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ถึงแม้นำทรัพย์สิน มาจำนองเป็นประกันการกู้ยืมเงินแก่เจ้าหนี้ ผู้จำนองยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนอง สามารถจำหน่าย จ่าย โอนได้ แต่จำนองก็ติดไปกับตัวทรัพย์ด้วย ซึ่งหากเป็นกรณีที่จำเลยขายที่ดินให้แก่ (บุคคลภายนอก) เพื่อให้ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินต่อตัวโจทก์ และรับโอนที่ดินไป การที่จำเลยทำสัญญาโอนขายที่ดินแก่(บุคคลภายนอก) เป็นกรณีที่จำเลยต้องกระทำเพื่อมิให้โจทก์บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยโอนขายทรัพย์สินของตนไปโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยสามารถกระทำได้โดยไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ (ฎีกา 4183/2542)
แต่หากการกระทำของจำเลยมีเจตนานำทรัพย์สินไปโอนขายแก่บุคคลภายนอกเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวหรือเสียเปรียบ จำเลยอาจมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้
ความคิดเห็นที่ 3:
โดย : จิดาภา กลุ่มนิติการ

19/11/2553 10:44:06
IP: 172.16.9.11
  จากมาตรา 702 ป.พ.พ. การจำนองคือการเอาทรัพย์สินตราไว้แก่ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง จากนิยามของสัญญาจำนองจะเห็นได้ว่า การจำนองคือการนำทรัพย์สินตราไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องของการโอนกรรมสิทธิ์ เพราะฉะนั้นกรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของเจ้าของเดิมคือผู้จำนองอยู่ ฉะนั้นโดยหลักแล้วผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมสามารถจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งทรัพย์สินที่ตนมีกรรมสิทธิ์ได้ ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 1336 ป.พ.พ.

การจำนองนั้น เป็นผลให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองนั้นจะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ (มาตรา 702 วรรค 2) เนื่องจากจำนองนั้นเป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่ง ย่อมตกติดไปกับตัวทรัพย์ เจ้าหนี้จำนองจึงสามารถบังคับจำนองได้ แม้ขณะบังคับจำนองบุคคลภายนอกจะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์นั้น

กรณีผู้จำนองโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองแก่บุคคลภายนอกนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ เพราะเจ้าหนี้ไม่ได้รับความเสียเปรียบในการชำระหนี้ เนื่องจากเจ้าหนี้จำนองย่อมสามารถบังคับจำนองเอากับทรัพย์จำนองได้ แม้ว่ากรรมสิทธิ์ของทรัพย์จำนองจะไม่ได้เป็นของผู้จำนองในขณะบังคับจำนองแล้วก็ตาม
ความคิดเห็นที่ 4:
โดย : [email protected]

03/12/2553 19:32:47
IP: 180.180.66.55
  ลูกหนี้ขายได้ แต่เราก็ไปบังคับจำนองจากคนที่ซื้อที่ดินไปได้เพราะจำนองเป็นใหญ่เหนือสิทธิอื่น (คำบรรยยายเนฯ)
ความคิดเห็นที่ 5:
โดย : นางสาววันเพ็ญ วงค์ลุน

27/08/2555 18:17:09
IP: 101.51.205.177
  หนุอยากทราบว่า มาตรา 702 วรรค 2 ระหว่างสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนบุริมสิทธิ์หรือไม่ เพราะเหตุใด
 
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น (ถ้อยคำที่สุภาพ สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)
รายละเอียด*
โดย*
E-mail
แทรกลิงค์ URL แทรกรูป ย่อหน้า ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา   

คลิกที่รูป เพื่อแทรกรูปลงในข้อความ
 

นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

 นางสาวชณิญญา หิรัญสุทธิ์
ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง

นายอนันค์ แจ้งจอน
ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ
 
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ขณะนี้มีผู้ Online อยู่

 
   สงวนลิขสิทธิ์ 2564 - © กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
   ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 2016 8888 กลุ่มนิติการ สำนักบริหารกลาง โทรศัพท์/โทรสาร 0 2628 5742 อีเมล [email protected]

 
การแสดงผลหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดสำหรับ Google Chrome  และ Mozilla Firefox  ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 650 pixel