หน้าหลักกระทู้ สำหรับนิติกร   
ลงลายมือชื่อในงบการเงิน
โดย : นิติกร สทต.6

03/09/2553 14:49:29
IP: 119.42.124.52
  การลงลายมือชื่อในงบการเงิน ซึ่งในงบดุลนั้นมี ประธานกรรมการเเละเหรัญญิกเป็นผู้ลงลายมือชื่อ เเต่ในส่วนของงบการเงินเเละ(รวมถึงหน้าเเรกของงบดุลด้วย)รายละเอียดประกอบอื่นๆผู้จัดการสหกรณ์เป็นผู้ลงลายมือชื่อ กรณีดังกล่าวนี้ผู้จัดการสหกรณ์จะลงลายมือชื่อในนั้นได้หรือไม่ เเละหากเกิดข้อบกพร่องผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ขอขอบพระคุณมากค่ะ
 
ความคิดเห็นที่ 1:
โดย : กลุ่มนิติการ

06/09/2553 15:57:18
IP: 172.16.9.253
  พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 66 วรรคสอง บัญญัติว่า “ งบดุลนั้นต้องมีรายการแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของสหกรณ์กับทั้งบัญชีกำไรขาดทุนตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด”
ประกอบกับคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 598/2552 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 เรื่อง มอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแทนนายทะเบียนสหกรณ์
ข้อ 2.1 มอบอำนาจให้อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการแทนนายทะเบียนสหกรณ์ ดังนี้
(1) กำหนดระบบบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี ตลอดจนสมุดและแบบรายงานต่างๆ ที่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต้องยื่นต่อนายทะเบียนสหกรณ์ รวมทั้งแบบพิมพ์อื่น ๆ ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (2) มาตรา 65 มาตรา 66 มาตรา 105 มาตรา 118 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 มาตรา 24 มาตรา 25”
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จึงกำหนดรูปแบบการจัดทำงบการเงินที่ต้องนำเสนอต่อนายทะเบียนสหกรณ์ โดยกำหนดให้ประธานกรรมการ และเลขานุการ เป็นผู้ลงนามในงบดุลนั้น ซึ่ง ดูได้จากคู่มือการจัดทำงบการเงินของสหกรณ์ ที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้แจ้งเวียนให้ทราบตามหนังสือที่ กษ 0406/ว.1545 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2548 และที่ กษ 0406/ว.1544 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2548 เรื่อง การจัดทำงบการเงินของสหกรณ์ ส่วนคู่มือการจัดทำงบการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ตามหนังสือ กษ 0404/ว. 1231 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2552 เรื่อง ขอปรับปรุงรูปแบบงบการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ใหม่ และระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วย การบัญชีของสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ข้อ 6 กำหนดให้ “คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดให้มีการปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินทุกวันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ โดยสรุปจากรายการบัญชีต่างๆ ที่สหกรณ์จดบันทึกไว้ เพื่อแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสด สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่สิ้นปีทางบัญชี”

จากข้อกำหนดดังกล่าว นายทะเบียนกำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ เป็นผู้ลงนามในงบดุลของสหกรณ์ ผู้จัดการ ถือว่าเป็นฝ่ายจัดการ จึงไม่มีอำนาจลงนามในงบดุลของสหกรณ์

ส่วนการเกิดข้อบกพร่อง ถือว่าเกิดจากการดำเนินงานของสหกรณ์ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับงบการเงิน ดังนั้น หากใครทำให้เกิดความเสียหายต่อทางสหกรณ์ หรือใครปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย บุคคลนั้นก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
 
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น (ถ้อยคำที่สุภาพ สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)
รายละเอียด*
โดย*
E-mail
แทรกลิงค์ URL แทรกรูป ย่อหน้า ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา   

คลิกที่รูป เพื่อแทรกรูปลงในข้อความ
 

นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

 นางสาวชณิญญา หิรัญสุทธิ์
ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง

นายอนันค์ แจ้งจอน
ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ
 
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ขณะนี้มีผู้ Online อยู่

 
   สงวนลิขสิทธิ์ 2564 - © กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
   ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 2016 8888 กลุ่มนิติการ สำนักบริหารกลาง โทรศัพท์/โทรสาร 0 2628 5742 อีเมล [email protected]

 
การแสดงผลหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดสำหรับ Google Chrome  และ Mozilla Firefox  ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 650 pixel