หน้าหลักกระทู้ สำหรับนิติกร   
ข้อบกพร่องของสหกรณ์
โดย : eak

03/06/2553 14:50:01
IP: 172.16.9.253
  หากองค์ประชุมไม่ครบมติที่ประชุมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
 
ความคิดเห็นที่ 1:
โดย : กลุ่มนิติการ

07/06/2553 10:53:47
IP: 172.16.9.200
  ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ความคิดเห็นที่ 2:
โดย : นิติกร สตท.1

07/06/2553 15:54:04
IP: 192.168.2.251
  ที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เอามาตราใดของพระราชบัญญัตสหกรณ์มาเป็นตัวจับค่ะ หรือเป็นกฎหมายอื่นค่ะ ช่วยระบุให้ชัดเจนหน่อยค่ะ
ความคิดเห็นที่ 3:
โดย : nattawut_rt

07/06/2553 16:17:12
IP: 172.16.9.124
  ดูตามมาตรา 57 พ.ร.บ.สหกรณ์ครับ และสมาชิกต้องอยู่ในที่ประชุมครบองค์ประชุมด้วย อีกทั้งหากสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ใช้มาตรา 58 มาบังคับต่อไปคับ

ปล. ตรงหัวข้อสาระน่ารู้ ตรง Q&A จะมีเรื่องประชุมใหญ่อยู่คับ
ความคิดเห็นที่ 4:
โดย : วรเมธ คงนอง

10/06/2553 10:28:59
IP: 172.16.9.238
  หากมีกรณีเงินสดขาดบัญชีแต่ไม่มีใครรับผิดชอบแล้วทางสหกรณ์ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยที่มิได้ระบุจำนวนเงินว่าขาดไปจำนวนเท่าใด กรณีเช่นนี้เราสามารถไปร้องทุกข์ใหม่เพื่อแก้ไข้จำนวนเงินให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้หรือไม่ และเราในฐานะนิติกรควรจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรครับกรุณษช่วยตอบกลับมายัง วรเมธ คงนอง นิติกร สตท.10ด้วยนะครับขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับนิติกรส่วนกลางกรุณาช่วยตอบให้ด้วยนะครับขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
ความคิดเห็นที่ 5:
โดย : วรเมธ คงนอง

10/06/2553 10:56:50
IP: 172.16.9.238
  หากมีกรณีที่สหกรณ์มีปัญหาเรื่องเงินสดขาดบัญชีแต่ไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ
ต่อมาทงสหกรณ์ได้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยมิได้ระบุจำนวนเงินที่ขาดหายไปว่าจำนวนเท่าใด

โดยทางสหกรณ์สามารถที่จะแก้ไขไปร้องทุกข์ใหม่โดยระบุจำนวนเงินให้ถูกต้องตามความเป็นจริงจะได้หรือไม่และควรแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
และเราในฐานะนิติกรควรแก้ไขปัญหานี้อย่างไร กราบขอรบกวนนิติกรส่วนกลางกรุณาช่วยตอบกลับด้วยนะครับขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
ความคิดเห็นที่ 6:
โดย : nattawut_rt

10/06/2553 14:21:51
IP: 172.16.9.124
  จากกรณีปัญหา ที่นายวรเมธ คงนอง ถาม อาจสรุปประเด็นได้ดังนี้
1. ประเด็นในเรื่องผู้รับผิดกรณีเงินสดขาดบัญชี
ในการบริหารงานของสหกรณ์ จะมีการแบ่งหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ รวมถึงในเรื่องงานการเงินและงานการบัญชีด้วย ดังนั้น หากมีกรณีเงินสดขาดบัญชีเกิดขึ้น ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงินจำต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น อีกทั้งในเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดในทางอาญา ในการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สหกรณ์อาจไม่จำต้องแจ้งจำนวนเงินที่เสียหายเป็นจำนวนแน่นอนแก่พนักงานสอบสวน เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าสหกรณ์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหาย อย่างแท้จริงก็พอแล้ว เพราะเมื่อได้แจ้งความร้องทุกข์แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าแท้จริงแล้วสหกรณ์เสียหายมากน้อยเพียงใด

2. วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว (ตามข้อเท็จจริงที่ถาม)
นิติกร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ แนะนำวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องทางการเงินการบัญชี รวมถึงแนะนำ กฎ ระเบียบ และคำแนะนำ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ หากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความเดือดร้อนเสียหายของสหกรณ์ ถือเป็นอำนาจบริหารภายในของสหกรณ์เอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารสหกรณ์ต้องดำเนินการกระบวนการทั้งทางแพ่งและทางอาญา นิติกรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์จึงไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปแทรกแซงจัดการในเรื่องดังกล่าวได้
 
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น (ถ้อยคำที่สุภาพ สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)
รายละเอียด*
โดย*
E-mail
แทรกลิงค์ URL แทรกรูป ย่อหน้า ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา   

คลิกที่รูป เพื่อแทรกรูปลงในข้อความ
 

นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

 นางสาวชณิญญา หิรัญสุทธิ์
ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง

นายอนันค์ แจ้งจอน
ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ
 
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ขณะนี้มีผู้ Online อยู่

 
   สงวนลิขสิทธิ์ 2564 - © กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
   ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 2016 8888 กลุ่มนิติการ สำนักบริหารกลาง โทรศัพท์/โทรสาร 0 2628 5742 อีเมล [email protected]

 
การแสดงผลหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดสำหรับ Google Chrome  และ Mozilla Firefox  ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 650 pixel