|
|
|
หน้าหลักกระทู้ สำหรับนิติกร |
โดย :
นิติกรสตท.8
29/07/2553 11:09:06 IP: 192.168.64.251
|
|
กรณีปัญหามีอยู่ว่าสหกรณ์แห่งหนึ่งในจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคใต้ ได้ประกอบกิจการขายอุปกรณ์การเกษตรได้ให้ลูกค้าหรือลูกหนี้ซื้อเชื่ออุปกรณ์การเกษตรไปแต่ต่อมาลูกค้าหรือลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายเงินค่าอุปกรณ์การเกษตรแม้สหกรณ์จะได้ทวงถามแล้วก็ไม่ยอมจ่าย สหกรณ์จึงได้ฟ้องต่อศาลว่าลูกค้าหรือลูกหนี้นั้นผิดสัญญาซื้อขายค่าอุปกรณ์การเกษตร และต่อมาก่อนที่ศาลจะพิพากษานั้นสหกรณ์และลูกค้าหรือลูกหนี้นั้นสามารถที่จะตกลงกันได้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า
ข้อ1.จำเลยหรือลูกหนี้ยินยอมชำระเงินมให้แก่โจทก์หรือสหกรณ์เป็นเงินจำนวน31,138.บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 11.50 ต่อปีของต้นเงินนับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 จนกว่าจะชำระเสร็จ และยินยอมเสียค้าขึ้นศาลจำนวน 222 บาท และค่าใช้จ่ายในการส่งคำคู่ความจำนวน 350. บาท และค่าทนายความ 3,000. บาท รวมเป็นเงิทั้งสิ้น 34,710 บาท โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือน ๆ ละไม่ตำกว่า 2,000. บาท โดยเริ่มผ่อนชำระงวดแรกในวันที่ 20 มกราคม 2553 และงวดต่อ ๆ ไปจะผ่อนชำระทุกวันที่ 20 ของเดือนถัดไปทุก ๆ เดือน และจะชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 โดยจำเลยหรือลูกหนี้จะนำเงินไปชำระให้แก่โจทก์หรือสหกรณ์ ณ ที่ทำการโจทก์หรือสหกรณ์
ข้อ2.หากจำเลยหรือลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้งวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมดและยินยอมให้โจทก์หรือสหกรณ์บังคับคดีได้ทันทีจากต้นเงินที่ค้างชำระนับแต่วันผิดนัดและยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 11.50 ต่อปี พร้อมค่าปรับในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
ข้อ3.ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากที่ศาลให้เป็นพับ
ข้อ4.โจทก์หรือสหกรณ์และจำเลยหรือลูกหนี้ตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้และไม่ติดใจเรียกร้องอะไรกันอีก
แต่ต่อมาลูกหนี้ผิดนัดไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีกและสหกรณ์สามารถที่จะบังคับคดีได้ทันทีจากต้นเงินที่ค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความนับแต่วันผิดนัดได้แต่สหกรณืไม่ยอมบังคับคดีแต่กลับนำเรื่องไปฟ้องร้องใหม่ ผู้สอบบัญชีซึ่งกลัวที่จะมีความผิดในเรื่องที่ตนให้คำรับรองเรื่องยอดเงินที่มีการฟ้องร้องกันนี้อย่างนี้เรานิติกรจะให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือผู้สอบบัญชีได้อย่างไรขอเสียงนิติกรทั้ง 10 ภาคหน่อยครับ
อหนึ่งขอรบกวนตอบทุกภาคนะครับจะดีใจอย่างยิ่ง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
กลุ่มนิติการ
29/07/2553 14:21:07 IP: 172.16.9.119
|
|
จากข้อเท็จจริง ไม่ได้ให้รายละเอียดการกระทำของผู้สอบบัญชีว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับกรณีดังกล่าว ดังนั้นหากมีข้อเท็จจริงในส่วนของผู้สอบบัญชีเพิ่มเติม กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยครับ
โดยทั่วไปแล้ว หากผู้สอบบัญชีปฏิบัติตามาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปและตามระเบียบที่ นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ตามาตรา 69 พ.ร.บ. สหกรณ์ 2542 ย่อมถือได้ว่าผู้สอบบัญชีมิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย เพราะฉะนั้นผู้สอบบัญชีก็ไม่มีความรับผิดแต่อย่างใด
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
นิติกร สตท.8
29/07/2553 15:00:09 IP: 192.168.64.251
|
|
(ขออภัยในภาษาด้วยนะครับ)
รับรองยอดเงินที่เป็นเรื่องฟ้องร้องกันนั้นหมายความว่าผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบบัญชีของสหกรณ์นั้นแล้วได้แสดงความเห็นต่องบการเงินว่ามีหนี้สินที่ลูกหนี้ของสหกรณ์ได้ค้างชำระหรือไม่ยอมชำระให้แก่สหกณ์จริงสหกรณ์จึงนำเรื่องที่ลูกหนี้ของสหกณ์นั้นผิดสัญญาซื้อขายไปฟ้องต่อศาล(ผู้สอบบัญชีจึงกลัวว่าตัวเองจะมีความผิดในการตรวจสอบบัญชีของสหกรณ์และได้แสดงความเห็นต่องบการเงินนั้นว่าสหกรณ์มีลูกหนี้ที่ค้างชำระตามยอดเงินนั้นจริง
อหนึ่งถ้าสหกรณ์นำยอดเงินที่ผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นไว้นั้นไปฟ้องเป็นยอดเงินอื่นที่ผู้สอบบัญชีไม่ได้แสดงความเห็นเอาไว้ผู้สอบบัญชีจะมีความผิดในเรื่องที่ฟ้องร้องนั้นด้วยหรือไม่
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
วรเมธ คงนอง
30/07/2553 11:18:51 IP: 172.16.9.79
|
|
ข้อ1 กรณีผู้สอบบัญชีวึ่งได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนสหกรณ์ ถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญาหรือไม่
ข้อ 2 หากผู้สอบบัญชีมีส่วนเกี่ยวข้องกับสหกรณืโดยกระทำการโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้สกหรณ์เสียหาย จะถือว่าผู้สอบบัญชีมีความิผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตตาม ป.อาญามาตรา 157 หรือมาตรา 156หรือไม่
กราบขอวิงวอนนิติกรทุกภาคและกลุ่มนิติการช่วยตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นด้วยนะครับกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
กลุ่มนิติการ
30/07/2553 17:22:53 IP: 172.16.9.75
|
|
ตอบคุณ วรเมธ คงนอง
ข้อ1. ผู้ที่จะมีหน้าที่ใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเป็นหน้าที่ในด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จะต้องมีกฎหมายเฉพาะแต่งตั้งและให้อำนาจไว้ ผู้สอบบัญชีที่ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนสหกรณ์ ไม่มีกฎหมายแต่งตั้งและให้อำนาจในเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ2. ผู้สอบบัญชีเป็น เจ้าพนักงาน ตามความนัยมาตรา 156 และ 157 ป.อ. หากมีการกระทำครบองค์ประกอบความผิดในความผิดฐานใด ก็จะมีความผิดตามมาตรานั้นๆ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|