|
|
|
หน้าหลักกระทู้ สำหรับนิติกร |
โดย :
นิติกร สตท .6
28/07/2553 09:22:47 IP: 192.168.46.13
|
|
กรณีดังกล่าวเนื่องจาก ทางสหกรณ์ได้ดำเนินการเเจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนแล้ว ซึ่งพนักงานสอบสวนกำลังติดตามหาตัวผู้กระทำผิดซึ่งกำลังหลบหนี มาดำเนินคดี อยู่
กรณีนี้จะถือได้หรือไม่ว่าอยู่ระหว่างดำเนินคดี หรือจะต้องรอจนกว่าจะหาผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีทางศาลได้ เเละศาลได้ประทับรับฟ้องเเล้วจึงจะถือได้ว่าเป็นการดำเนินคดี (ในการติดตามลดข้อบกพร่อง)
อีกประการหนึ่ง หากติดตามหาผู้กระทำผิดมาลงโทษไม่ได้ภายในอายุความที่กำหนด ในระหว่างนั้นเราจะต้องดำเนินการหาผู้ที่ต้องรับผิดชอบอีกทอดหนึ่งรองจากผู้กระทำผิดได้หรือไม่ ภายในอายุความนั้นจะได้หรือไม่
ขอขอบพระคุณมากค่ะ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
กลุ่มนิติการ
28/07/2553 15:24:29 IP: 172.16.9.76
|
|
ขอเท็จจริงทั้งหมดได้ไหมคับ
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
กลุ่มนิติการ
28/07/2553 15:27:13 IP: 172.16.9.76
|
|
ขอข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ไหมค่ะ
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
นิติกร สตท .6
29/07/2553 10:07:20 IP: 192.168.46.13
|
|
สหกรณ์มีเงินสดขาดบัญชีและยอดสินค้าขาดบัญชี รวมเป็นเงินจำนวน 604,453 บาทซึ่งเป็นยอดเงินที่เกิดขึ้นในปีบัญชี2547 และปีบัญชี 2550 สหกรณืได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยเต็มจำนวน และสหกรณ์ได้ติดตามเเจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีกับนางธนภร หรือ มยุรา หว่างเชนทร์ อดีตเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ซึ่งยังหลบหนีการติตามตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ กรณีนี้จะถือได้หรือไม่ว่าอยู่ระหว่างดำเนินคดี หรือจะต้องรอจนกว่าจะหาผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีทางศาลได้ เเละศาลได้ประทับรับฟ้องเเล้วจึงจะถือได้ว่าเป็นการดำเนินคดี เเละหากติดตามหาผู้กระทำผิดมาลงโทษไม่ได้ภายในอายุความที่กำหนด ในระหว่างนั้นเราจะต้องดำเนินการหาผู้ที่ต้องรับผิดชอบอีกทอดหนึ่งรองจากผู้กระทำผิดได้หรือไม่ ภายในอายุความนั้นจะได้หรือไม่
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
นิติกร สตท .6
29/07/2553 10:14:23 IP: 192.168.46.13
|
|
รบกวนอีกข้อสงสัยนะค่ะ มีพี่ๆเค้ามาถามข้อสงสัย
หนี้ระยะสั้น 10 ปี
หนี้ระยะปานกลางเเละระยะยาว 5 ปี
ดูตามอายุความในประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ มาตรา 193 ใช่หรือไม่ค่ะ ยังไม่กล้าฟันธงเนื่องจากมีข้อสงสัยบางส่วนอยู่ ว่าทำไม่การกำหนดระยะเวลาหนี้ไม่เท่ากัน
ขอบพระคุณค่ะ
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
กลุ่มนิติการ
29/07/2553 14:55:59 IP: 172.16.9.21
|
|
ประเด็นเรื่องอายุความ
สิทธิเรียกร้องหรือหนี้นั้น ตามปกติจะมีอายุความกำหนดไว้ เพื่อให้ผู้ทรงสิทธิใช้สิทธิภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากไม่ใช้ภายในกำหนด สิทธิเรียกร้องก็ขาดเป็นอันขาดอายุความ ซึ่งอายุความที่กฎหมายกำหนดจะมีระยะเวลาแตกต่างกันไปตามประเภทของสิทธิเรียกร้อง
โดยทั่วไปแล้วถ้ากฎหมายไม่ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษ สิทธิเรียกร้องจะมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 แต่ถ้าสิทธิเรียกร้องชนิดใดกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ อายุความก็เป็นไปตามนั้น ซึ่งบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอายุความจะอยู่ในมาตรา 193/10 ถึง 193/35
สำหรับประเด็นการหาผู้รับผิดชอบอีกทอดหนึ่งรองจากผู้กระทำความผิด รบกวนระบุให้ชัดเจนได้หรือไม่คะ ว่าเป็นใครหรือเกี่ยวข้องอย่างไร
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
นิติกร สตท .6
30/07/2553 09:25:42 IP: 192.168.46.13
|
|
สำหรับผูที่ต้องรับผิดชอบอีกทอดหนึ่งคือ กรณีตามตัวอย่าง
คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เนื่องจากหากพบว่าได้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ เช่น ลงลายมือชื่อรับทราบว่ามีจำนวนเงิน 30,000 บาท เเต่ไม่ได้ตรวจนับดูจำนวนเงินนั้น หรืออาจจะไม่ได้ตรวจดูจำนวนใบเสร็จรับเงินเลย เพียงเเค่ลงลายมือชื่อเท่านั้น
|
|
|
|
|
|
|
|
โดย :
กลุ่มนิติการ
30/07/2553 16:55:47 IP: 172.16.9.75
|
|
กรณีดังกล่าว ควรดำเนินการหาข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดในความผิดฐานยักยอกหรือไม่ หากพบว่ามีส่วนร่วมในการยักยอก ก็อาจฟ้องตัวกรรมการดำเนินการเป็นคดีอาญา พร้อมเรียกค่าเสียหาย กล่าวคือ เงินจำนวนที่ถูกยักยอกคืนได้เต็มจำนวน
แต่ถ้าได้ข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการไม่ได้มีส่วนร่วมในการยักยอก ก็ต้องพิจารณาระเบียบ ข้อบังคับสหกรณ์ ว่าคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้สหกรณ์เสียหายคือ เป็นเหตุให้เกิดการยักยอกขึ้น หรือไม่ อย่างไร หากพบว่าคณะกรรมการดำเนินการประมาทในการปฏิบัติหน้าที่จริง ก็อาจเรียกร้องหรืออาจดำเนินการฟ้องร้อง ให้กรรมการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|