หน้าหลักกระทู้ สำหรับนิติกร   
เรื่องหนี้เงินกู้
โดย : คำถามจากนิติกร สตท.10

05/07/2553 16:11:14
IP: 172.16.9.134
  ข้อ1 การทำหนังสือรับสภาพหนี้หรือ ทำสัญญากู้ขึ้นใหม่โดยอาศัยสัญญากู้ฉบับเก่าที่ขาดอายุความแล้ว จะมีผลตามกฎหมายหรือไม่และจะนำไปเป็นหลักฐานใน
การฟ้องร้องบังคับคดีได้หรือไม่

ข้อ2 การนำสัญญากู้ที่ขาดอายุความไปฟ้องร้อง ศาลจะรับฟ้องได้หรือไม่ และหากจำเลยไม่ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับผิดได้หรือไม่

ข้อ3 หากลูกหนี้มาชำระหนี้บางส่วนก่อนหนี้จะหมดอายุความ1ปีสามารถนำหลักฐานการชำระหนี้บางส่วนนั้นไปฟ้องร้องได้หรือไม่ และจะทำให้อายุความทางแพ่งสะดุจหยุดลงหรือไม่ถ้าอายุความสะดุจหยุดลงจะเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เมื่อใด
 
ความคิดเห็นที่ 1:
โดย : กลุ่มนิติการ

05/07/2553 16:22:51
IP: 172.16.9.134
  ประเด็นที่ 1 การที่ลูกหนี้ตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ หลังจากมูลหนี้เดิมขาดอายุความแล้วก็สามารถกระทำได้ และเจ้าหนี้ยังสามารถนำหลักฐานดังกล่าวไปฟ้องลูกหนี้ได้ หากลูกหนี้ผิดสัญญา ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 193/28 “ การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้น ไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม
บทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันด้วย แต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้” และ
มาตรา 193/35 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้รับสภาพความผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ให้มีกำหนดอายุความสองปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดหรือให้ประกัน”

ประเด็นที่ 2 หนี้เงินกู้ มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/10 เจ้าหนี้สามารถจะนำหนี้เงินกู้ที่ขาดอายุความไปฟ้องร้องต่อศาลได้ โดยศาลก็สามารถประทับรับฟ้องได้ แต่ศาลจะยกเรื่องหนี้ขาดอายุความขึ้นเอง เป็นข้อต่อสู้แทนลูกหนี้เพื่อยกฟ้องไม่ได้ แต่ลูกหนี้ต้องยกข้อต่อสู้เรื่องหนี้ขาดอายุความต่อศาล เพื่อให้ศาลใช้ข้ออ้างของลูกหนี้เป็นเหตุยกฟ้องคดีได้ ตามมาตรา 193/29 ป.พ.พ.

ประเด็นที่ 3 หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้บางส่วนก่อนหนี้จะหมดอายุความ ถือว่าอายุความนั้นย่อมสะดุดหยุดลงนับแต่ได้มีการชำระหนี้บางส่วน ตามมาตรา 193/14 ป.พ.พ. และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงเมื่อใด ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นก็ไม่นับรวมเข้าเป็นอายุความ ตามมาตรา 193/15 วรรค 1 ป.พ.พ. และให้เริ่มนับอายุความใหม่ นับแต่เวลาที่ได้มีการชำระหนี้บางส่วน ตามมาตรา 193/15 ป.พ.พ.

ความคิดเห็นที่ 2:
โดย : วรเมธ คงนอง

06/07/2553 10:33:01
IP: 172.16.9.246
  นิติกรรมที่คู่สัญญาทำไว้ต่อกัน เช่นสัญญากู้ที่ทำขึ้นใหม่โดยอาศัยมูลหนี้เก่าที่ขาดอายุความแล้วจะถือว่าเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่
ข้อ 2 ถ้าเอาทรัพย์ที่จำนองหลุดและราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น
แต่ถ้าคู่สัญญาตกลงว่าถ้าบังคับจำนองแล้วเงินไม่พอชำระหนี้ลูกหนี้ผู้รับจำนองยอมให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิฟ้องบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ได้อีกจนกว่าจะพอชำระหนี้ ดังนั้นจึงกราบเรียนถามนิติกรส่วนกลางว่า นิติกรรมดังกล่าวเป็นการขัดต่อมาตรา 150 หรือไม่ และถ้าหากไม่ขัดต่อมาตรา 150 แห่ง ป.ป.พ.แล้วจะขัดต่อ พรบ. ว่าด้วยข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ และเป็นการตีความเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุน ผู้ประกอบการ หรือเจ้าหนี้เอารัดเอาเปรียบต่อประชาชนหรือผู้บริโภคที่มีความเดือดร้อนจนเกินควรหรือไม่ กราบวิงวอนนิติกรส่วนกลางได้โปรดช่วยตอบคำถามดังกล่าวด้วยนะครับ กราบขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
ความคิดเห็นที่ 3:
โดย : กลุ่มนิติการ

06/07/2553 11:24:08
IP: 172.16.9.75
  คำถาม ข้อ 1 นิติกรรมที่คู่สัญญาทำไว้ต่อกัน เช่น สัญญากู้ที่ทำขึ้นใหม่โดยอาศัยมูลหนี้เก่าที่ขาดอายุความแล้วจะถือว่าเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่
คำตอบ นิติกรรมที่ทำขึ้นใหม่ที่อาศัยมูลหนี้เก่าที่ขาดอายุความ และมูลหนี้นั้นเป็นมูลหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด ตาม ปพพ. มาตรา 149 (ถ้าไม่ใช่หนี้ที่เกี่ยวข้องกับการพนัน หรือหนี้ที่ทำขึ้นด้วยผิดกฎหมาย) ไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำถาม ข้อ 2 ถ้าเอาทรัพย์ที่จำนองหลุดและราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น แต่ถ้าคู่สัญญาตกลงว่าถ้าบังคับจำนองแล้ว เงินไม่พอชำระหนี้ลูกหนี้ผู้จำนองยอมให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิฟ้องบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ได้อีกจนกว่าจะพอชำระหนี้ ดังนั้นจึงกราบเรียนถามนิติกรส่วนกลางว่า นิติกรรมดังกล่าวเป็นการขัดต่อมาตรา 150 หรือไม่ และถ้าหากไม่ขัดต่อมาตรา 150 แห่ง ป.ป.พ. แล้วจะขัดต่อ พรบ. ว่าด้วยข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ และเป็นการตีความเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุน ผู้ประกอบการ หรือเจ้าหนี้เอารัดเอาเปรียบต่อประชาชนหรือผู้บริโภคที่มีความเดือดร้อนจนเกินควรหรือไม่ กราบวิงวอนนิติกรส่วนกลางได้โปรดช่วยตอบคำถามดังกล่าวด้วยนะครับ กราบขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
คำตอบ ตามข้อเท็จจริงข้างต้นไม่ถือว่าการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมาย และไม่ขัดกับพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรม เนื่องจากการบังคับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นั้น จะบังคับชำระได้เท่ากับมูลหนี้ระหว่างกันเท่านั้น หากทรัพย์ที่จำนอง เมื่อนำออกขายทอดตลาดมูลค่าที่ได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้ และเจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนได้ ถือว่าเป็นข้อยกเว้นของกฎหมาย ไม่เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย พ้นวิสัย ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด
ความคิดเห็นที่ 4:
โดย : ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา

05/09/2557 12:22:13
IP: 41.220.69.8
  นี่คือการโฆษณาออนไลน์จากเงิน / เงินให้กู้ยืมที่ บริษัท เอกชน คุณจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อชำระค่าของคุณซื้อบ้านสินเชื่อเพื่อขยายธุรกิจของคุณให้กู้ยืมสำหรับการลงทุน? เรามีเงินให้สินเชื่อส่วนบุคคลไปยังบุคคล บริษัท ธุรกิจและผู้หญิง

เพื่อนำไปใช้และได้รับเงินกู้ในวันนี้กรุณาติดต่อเราตอนนี้ผ่านทางที่อยู่อีเมลของเราอย่างเป็นทางการด้านล่างสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขอบคุณ

ติดต่ออีเมล์: [email protected]

ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา
 
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น (ถ้อยคำที่สุภาพ สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)
รายละเอียด*
โดย*
E-mail
แทรกลิงค์ URL แทรกรูป ย่อหน้า ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา   

คลิกที่รูป เพื่อแทรกรูปลงในข้อความ
 

นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

 นางสาวชณิญญา หิรัญสุทธิ์
ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง

นายอนันค์ แจ้งจอน
ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ
 
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ขณะนี้มีผู้ Online อยู่

 
   สงวนลิขสิทธิ์ 2564 - © กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
   ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 2016 8888 กลุ่มนิติการ สำนักบริหารกลาง โทรศัพท์/โทรสาร 0 2628 5742 อีเมล [email protected]

 
การแสดงผลหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดสำหรับ Google Chrome  และ Mozilla Firefox  ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 650 pixel