หน้าหลักกระทู้ สำหรับนิติกร   
ลักษณะข้อบกพร่องทางการเงินการบัญชีที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนมีลักษณะ อย่างไร
โดย : นิติกร สตท.10

04/06/2553 11:00:52
IP: 172.16.9.124
  ลักษณะข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน
 
ความคิดเห็นที่ 1:
โดย : นิติกรสตท8.

08/06/2553 09:54:58
IP: 192.168.64.251
  ลักษณะข้อบกพร่องทางการเงินการบัญชีที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ตาม ม.22 แห่งพ.ร.บ.สหกรณ์มีลักษณะดังนี้

1.มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่ส่อไปในทางทุจริต ยกตัวอย่างเช่น ปลอมสัญญาเงินกู้ , ขายสินค้าออกไปแต่ไม่ได้บันทึกลงในบัณชี เช่น สหกรณ์แห่งหนึ่งขายยางพาราแผ่นให้กับบริษัทแห่งหนึ่งและผู้สอบบัญชีได้ไปยืนยันยอดการขายกับบริษัทผู้รับซื้อแต่ปรากฎว่ามียอดขายที่สหกรณ์ไม่ได้นำมาบันทึกลงในบัญชี

2.กระทำการหรืองดเว้นกระทำการโดยขาดความระมัดระวัง อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสหกรณ์หรือสมาชิก ยกตัวอย่างเช่น ไม่ติดตามลูกหนี้เงินกู้

3.จัดทำบัญชีไม่เป็นไปตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด จะเป็นผลให้ไม่สามารถตรวจสอบบัญชีได้ ยกตัวอย่างเช่น ไม่ได้จัดทำบัญชีสมุดขั้นต้นและขั้ปลายและทะเบียนคุ้มต่าง ๆ

4.ไม่ปฎิบัติตามกฎหมายสหกรณ์ กฎหมายอื่น ระเบียบและคำแนะนำของทางราชการรวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบแบบแผนของสหกรณ์และมติของคณะกรรมการดำเนินการอย่างมีสาระสำคัญ อาจทำให้เกิดความเสียหายด้านการเงิน การบัญชี หรือกิจการ หรือฐานะการเงิน

*หมายเหตุ อ้างจากระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการรายงานและการสั่งการให้สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงินการบัญชี หมวด 1.
ความคิดเห็นที่ 2:
โดย : นิติกรส่วนกลาง

08/06/2553 13:05:18
IP: 172.16.9.200
  ให้ดูตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการรายงานและการสั่งการให้สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงินการบัญชี พ.ศ. 2547 และคำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง ขอบเขตการออกคำสั่งตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ที่ได้มอบอำนาจตามคำสั่งนายทืเบียนสหกรณ์

http://legal.cad.go.th/download/ru30%20pdf..pdf

http://legal.cad.go.th/download/10.pdf
ความคิดเห็นที่ 3:
โดย : วรเมธ คงนอง

22/06/2553 11:13:23
IP: 172.16.9.253
  ตาม พรบ.สหกรณ์ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๓ ที่ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๕ แห่งพรบ.สหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๑๕ วรรค๓ เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้กรรมการเท่าที่ เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้และให้ถือว่าคณะกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่ เว้นแต่มีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงสองในสาม
วรรคสี่ ในกรณีที่กรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ที่ประชุมใหญ่สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยเลือกผู้แทนสหกรณ์เป็นกรรมการแทน เว้นแต่วาระของกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าก็ได้ และให้ผู้ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
ความคิดเห็นที่ 4:
โดย : นิติกร สตท 6

05/07/2553 14:30:15
IP: 192.168.46.19
  ระยะเวลาที่ให้เเก้ไขข้อบกพร่องต้องขึ้นอยู่กับคำสั่งของนายทะเบียนหรือคำสั่งของเเต่ละสำนักตรวจบัญชีใช่ป่าวค่ะ
เพิ่งรับงานใหม่
ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
 
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น (ถ้อยคำที่สุภาพ สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)
รายละเอียด*
โดย*
E-mail
แทรกลิงค์ URL แทรกรูป ย่อหน้า ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา   

คลิกที่รูป เพื่อแทรกรูปลงในข้อความ
 

นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

 นางสาวชณิญญา หิรัญสุทธิ์
ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง

นายอนันค์ แจ้งจอน
ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ
 
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ขณะนี้มีผู้ Online อยู่

 
   สงวนลิขสิทธิ์ 2564 - © กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
   ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 2016 8888 กลุ่มนิติการ สำนักบริหารกลาง โทรศัพท์/โทรสาร 0 2628 5742 อีเมล [email protected]

 
การแสดงผลหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดสำหรับ Google Chrome  และ Mozilla Firefox  ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 650 pixel